ฟังเพลง

การฟังเพลงก่อนนอนมีผลดีต่อการนอนหลับอย่างไร

เราคงเคยได้ยินเรื่องของการฟังเพลง ที่จะชวยบำบัดจิตใจของเราให้สงบขึ้นหลังจากที่ว้าวุ่นกับหลายสิ่งหลายอย่าง บทเพลงสามารถปลอบประโลมเราได้เป็นอย่างดี ซึ่งการฟังเพลงก่อนนอนนั้นถือเป็นสิ่งที่ดีอย่างมาก จะช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยให้นอนหลับง่ายและหลับสนิท พร้อมตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่และสดชื่น นอกจากนี้การฟังเพลงช่วยพัฒนาความจำให้ดีขึ้น ปรับอารมณ์ที่ขุ่นมัวให้สดใส ช่วยให้ออกกำลังกายได้ดีขึ้น และอาจช่วยลดอาการวิตกกังวลและอาการของโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย ดังนั้นวันนี้เรามาดูถึงผลดีของการฟังเพลงก่อนนอนกันเลยดีกว่า

4 เหตุผลที่ต้องฟังเพลงก่อนนอน

  1. ลดความเครียด ความกังวล มีงานวิจัยมากมายทั่วโลกที่ยืนยันได้ว่า “ดนตรี” ส่งผลต่อการรับรู้ของสมองในด้านบวก คือการช่วยคลายเครียด ลดระดับความคิดสิ้นเปลือง (Over Thinking) สร้างความผ่อนคลาย แต่ควรเป็นเพลงที่อยู่ในระดับเหมาะสม คือเป็นเพลงคลื่นความถีต่ำ และความเร็วในระดับคงที่ราว 50 – 70 BPM และหากไม่มีเนื้อร้องจะดีที่สุด เพราะเนื้อร้องจะส่งผลต่อการตีความจากสมอง ทำให้การรับรู้ไม่ได้พักผ่อนนั่นเอง
  2. กระตุ้นฮอร์โมน การฟังเพลงช่วยกระตุ้นฮอร์โมนเซโรโทนิน และ ออกซิโทซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความรัก และความผูกพัน ซึ่งเกี่ยวพันกับระบบการควบคุมร่างกายอีกด้วย ให้หลั่งออกมา ส่งผลให้เกิดความผ่อนคลายก่อนนอน หลับสบายตลอดคืน ตื่นมาแบบสบายๆ พร้อมทำงานในแต่ละวัน
  3. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จากการรับรู้เสียง สมองจึงส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อทุกมัดในร่างกายของคนเราเพื่อปรับสภาพตามการรับรู้ หลายคนที่ชอบฟังเพลงก่อนนอนสบายๆ อาจจะรู้สึกได้ว่าตัวเบาขึ้นเล็กน้อยเพราะความผ่อนคลายจากการฟังเพลง  ซึ่งจากความผ่อนคลายเหล่านี้จะช่วยให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะพร้อมนอนหลับได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง
  4. ช่วยควบคุมจังหวะการหายใจ

รู้หรือไม่ว่าจังหวะของเพลงส่งผลต่อจังหวะการหายใจของเราอีกด้วย ซึ่งการหายใจก็เป็นส่วนสำคัญสำหรับการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ คือไม่เร็วเกินไป ไม่สั้นเกินไป ซึ่งแน่นอนว่าเพลงที่เปิดก็ควรเป็นเพลงสบายๆ จังหวะไม่รุนแรงเกินไป

โดยทั่วไป เพลงที่เหมาะสำหรับฟังก่อนนอนมักเป็นเพลงบรรเลงช้า ๆ ที่ฟังสบายและเพลงคลาสสิค ซึ่งอาจช่วยสร้างความผ่อนคลาย ปรับให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงและนอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่บางคนอาจนอนหลับได้ดีขึ้นเมื่อฟังเพลงที่มีจังหวะเร็ว การเลือกฟังเพลงจึงอาจแตกต่างกันตามความชอบของแต่ละคน แต่ควรหลีกเลี่ยงการฟังเพลงที่กระตุ้นอารมณ์รุนแรง ซึ่งอาจทำให้นอนไม่หลับได้ ทั้งนี้ ไม่ควรนอนหลับไปพร้อมกับหูฟัง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อรูหู ทำให้ขี้หูเพิ่มขึ้น และอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อในหู นอกจากนี้ การใส่หูฟังฟังเพลงเสียงดังมาก ๆ เป็นเวลานานอาจทำให้ประสาทหูเสื่อมและเกิดปัญหาด้านการได้ยินตามมา จึงควรเปิดเพลงเบา ๆ ผ่านลำโพงในห้องนอนหรือเมื่อเริ่มง่วงนอนควรถอดหูฟังออกก่อน ซึ่งอาจช่วยให้คุณนอนหลับได้โดยไม่ทำลายสุขภาพหู

นอกจากนี้ การฟังเพลงยังเป็นหนึ่งในวิธีบำบัดและรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ภาวะเครียด โดยช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ดีขึ้น  อีกทั้งมีผลการศึกษาพบว่าการฟังเพลงก่อนนอนจะช่วยให้เด็กและผู้สูงอายุนอนหลับได้ดีขึ้นด้วย นี่ก็ผลดีของการฟังเพลงก่อนนอน ไม่ใช่ว่าจะฟังเพลงอะไรก่อนนอนแล้วจะสบาย ถ้าเราฟังเพลงที่มีจังหวะหนักๆ หรือบทเพลงที่ดังเกินไป ก็อาจจะไม่ส่งผลดีมากนัก ดังนั้นควรเลือกเพลงตามที่ได้แนะนำไปข้างต้นจะเกิดผลดียิ่งขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *