ท่อส่งน้ำมัน

ท่อส่งน้ำมันเป็นอย่างไร

ทุกๆ ท่านเคยสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของ “ระบบท่อส่งน้ำมัน” กันบ้างมั้ยครับ ว่าเอ น้ำมันจาก Silo ใหญ่ๆ ตามท่าเรืออย่างชลบุรี หากไม่ขนส่งทางรถแล้ว เข้าจะส่งกันอย่างไร ไหนจะท่อส่งน้ำมันใต้ทะเลอีกหล่ะ หลักการทำงานมันเป็นยังไงกันนะ วันนี้เราเลยจะพาทุกๆ ท่านไปหาความรู้เกี่ยวกับ “ท้อส่งน้ำมัน” กันดูครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่า

ระบบท่อส่งน้ำมัน

ระบบท่อส่งน้ำมันเป็นระบบที่สามารถขนส่งน้ำมันได้หลายชนิดภายในท่อเดียวกัน ควบคุมการขนส่งน้ำมันด้วยระบบ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition System) ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการจัดส่งน้ำมันทางท่อ โดยสามารถสั่งการไปยังสถานีสูบจ่าย คลังน้ำมันต้นทางและปลายทาง รวมทั้งจุดต่าง ๆ

ระบบต่างๆ ของท่อส่งน้ำมัน

●ระบบควบคุมการขนส่งที่ทันสมัย (Modern Transportation Control System)

ด้วยการควบคุมกระบวนการทำงานจากระบบคอมพิวเตอร์ Supervisory Control and Data Acquistion System (SCADA) อันทันสมัย ได้มาตรฐานสากล และเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจึงถูกนำมาใช้ ทำให้ระบบขนส่งสามารถควบคุมปริมาณและตรวจสอบชนิดของน้ำมันที่ผ่านระบบท่อได้ตลอดเส้นทางอีกทั้งยังสามารถตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำมัน การแจ้งสัญญาณฉุกเฉิน บังคับการเปิดปิดวาล์ว และอุปกรณ์ภายใน ระบบท่อโดยอัตโนมัติ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ยังสามารถควบคุมการเปิด-ปิดของถังน้ำมันทั้งต้นทาง และปลายทาง โดยมีศูนย์กลางห้องควบคุมอยู่ที่สำนักงานใหญ่ดอนเมือง

●ความปลอดภัยของแนวท่อ (Security of Pipeline)

การขนส่งน้ำมันผ่านระบบท่อเป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่า เป็นระบบการขนส่งน้ำมันที่มีความปลอดภัยสูงสุด ลดการสูญเสีย และไม่มีผลกระทบต่อชุมชน ไม่มีเสียงรบกวนขณะจัดส่ง   และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ท่อขนส่งน้ำมันของบริษัทเป็นท่อฝังอยู่ใต้ดินลึกประมาณ 1.50 เมตรขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 14 นิ้ว มีความหนาเฉลี่ย 8 มิลลิเมตร เคลือบสารป้องกันสนิมทั้งภายนอกและภายในขณะก่อสร้างวางท่อหลังจากที่มีการเชื่อมท่อต่อกันแล้วจะมีการตรวจสอบแนวเชื่อมทั้งหมดด้วยการ X-RAY แล้วจึงพันเทปแนวเชื่อมเพื่อป้องกันสนิมอีกครั้งก่อนที่จะวางลงไปใต้ดิน เมื่อวางฝังท่อลงไปใต้ดินแล้วยังมีเทปสีเหลืองวางเหนือท่อประมาณ 25 เซนติเมตร รวมถึงมีการติดตั้งระบบป้องกันการสึกกร่อนด้วยระบบ Cathodic Protection และมีป้ายแสดงแนวท่อ (Marker Post) ตลอดเส้นทาง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในระหว่างการขนส่งน้ำมัน บริษัทมีอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบสภาพภายในท่อเรียกว่า PIG (Pipeline Inspection Gauge) เป็นเครื่องมือที่วิ่งอยู่ภายในท่อและทำการบันทึกสภาพภายในท่ออย่างละเอียด ดั้งนั้น ในกรณีที่จุดใดจุดหนึ่งของท่อเริ่มสึกกร่อนก็สามารถตรวจสอบพบและทำการแก้ไขได้ก่อนที่จะมีการรั่วซึม

(ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.fpt.co.th/th/our-business/)

ประโยชน์หลักๆ ของการใช้ระบบท่อส่งน้ำมัน

1.ระบบการขนส่งน้ำมันผ่านท่อนี้สามารถลำเลียงน้ำมันได้ในระยะไกลและต่อเนื่อง ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เกิดมลพิษในอากาศน้อยลง สร้างความมั่นคงและลดต้นทุนการขนส่งน้ำมันอีกทั้งประชาชนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ใช้น้ำมันในราคาที่ใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานครอีกด้วย
2.มีมาตรฐานสากลรองรับ มีความปลอดภัยตามการครวบคุมการปฏิบัติ
3.ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนหลังก่อสร้างเสร็จ เพราะว่า..

– ก๊าซฯในท่อ มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อม
– ขณะส่งไม่ส่งเสียงดังรบกวนชุมชนโดยรอบ
– ลดปริมาณการจารจรบนท้องถนนได้ด้วย
4 ลดต้นทุนอุตสหกรรมต่างๆ ที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในระยะยาว
5 ส่งได้ปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ท่อส่งน้ำมันเป็นอย่างไร” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ได้เข้าใจเกี่ยวกับ ระบบท่อส่งน้ำมันกันมากขึ้นครับ หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับทุกท่านกันนะครับ