น้ำมันดิบ

แหล่งน้ำมันดิบในไทย

หลายๆ ท่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังและได้ใช้งานโดยที่ไม่รู้ตัวกับเจ้า “น้ำมันดิบ” หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ “น้ำมันปิโตรเลียม” ที่มนุษย์เราใช้ในการทำหลายๆ สิ่งแต่ท่านทราบกันมั้ยหล่ะครับว่า ที่มาของน้ำมันดิบเหล่านี้มาจากไหน ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ประเทศไทยมีแหล่งน้ำมันดิบของตนเองมั้ย บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปหาคำตอบกันครับ

ทำความรู้จักกับ “น้ำมันดิบ”

น้ำมันดิบเกิดจากการทับทนกันของซากพืซซากสัตว์ที่ใช้เวลาหลายล้านปิใต้ชั้นบาดาลและใต้ดิน ซึ่งสามารถนำมากลั่นใช้เป็นสารเคมีต่างๆ และใช้เป็นน้ำมันปิโตรเลียม

เชื้อเพลิงจากธรรมชาติแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

●น้ำมันดิบ (Crude Oil)

น้ำมันดิบประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนชนิดระเหยง่ายเป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ตามคุณสมบัติและชนิดของไฮโดรคาร์บอน

–           น้ำมันดิบชนิดที่ไม่มีไขมาก (paraffin base)

–           น้ำมันดิบชนิดที่มียางมะตอยมาก (asphalt/naphthenic base)

–           น้ำมันดิบชนิดผสม (mixed base) เป็นน้ำมันดิบพื้นฐานชนิดผสมกันระหว่างชนิดมีไขมากและชนิดที่มียางมะตอยมาก

ลักษณะทางกายภาพของน้ำมันดิบโดยทั่วไปจะมีสีดำหรือสีน้ำตาล มีกลิ่นคล้ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป เมื่อน้ำมันดิบรวมอยู่กับน้ำ น้ำมันดิบจะลอยอยู่เหนือน้ำเสมอ

          ภายหลังจากผ่านกระบวนการกลั่นน้ำมันแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ รถยนต์ รวมทั้งเตาเผา และเตาอบต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินใบพัดและน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น เป็นน้ำมันก๊าด เป็นส่วนผสมของยาฆ่าแมลง สีทาบ้าน น้ำมันชักเงา น้ำยาทำความสะอาด เป็นเชื้อเพลิงบ่มยาสูบ อบพืชผลและใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก

●ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)  

โดยทั่วไปสามารถแบ่งหลักๆ ได้ 2 ประเภท ดังนี้

– Dry gas หมายถึงแก๊สธรรมชาติที่ไม่มีส่วนผสมของแก๊สธรรมชาติเหลว (condensate) มีแต่แก๊สมีเทนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้มีราคาสูงกว่าแก๊สธรรมชาติชนิดอื่นๆ

– Wet gas หมายถึง แก๊สธรรมชาติที่มีส่วนประกอบหลักเป็นพวกแก๊สธรรมชาติเหลว ได้แก่ โพรเพน บิวเทน เพนเทน และเฮกเซน แก๊สเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำและความดันสูง ทาให้เกิดปัญหาในการขนส่งชนิดของก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซมีเทนใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบสาหรับการผลิตปุ๋ย และอัดใส่ถังใช้เป็นเชื้อเพลิงรถโดยสาร เอ็นจีวี ( Natural gas for vehicles – NGV) อีเทน และโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas – LPG) ซึ่งประกอบด้วยโพรเพนและบิวเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม เชื้อเพลิงสำหรับรถและอุตสาหกรรม แก๊สโซลีนธรรมชาติ (Natural gas liquid – NGL) ส่งเข้าโรงกลั่นเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินแก๊สธรรมชาติ

รู้จักกับ “ปิโตรเลียม”

ปิโตรเลียม หมายถึง สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีธาตุเป็นองค์ประกอบหลัก คือ คาร์บอน และไฮโดรเจน โดยอาจมีธาตุอื่น เช่น กํามะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ปนอยู่ด้วย ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียมเอง พลังงานความร้อน และความกดดันตามสภาพแวดล้อมที่ปิโตรเลียมสะสมตัวอยู่

แหล่งน้ำมันดิบในไทยที่น่าสนใจ

►แหล่งขุดเจาะน้ำมันภาคพื้นดิน

●แหล่งขุดเจาะอำเภอฝาง เชียงใหม่ ผลิตน้ำมันดิบ 1,400 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะอำเภอนํ้าพอง ขอนแก่น ผลิตน้ำมันดิบ 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะอำเภอกุงศรี กาฬสินธุ์ ผลิตก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ผลิตก๊าซธรรมชาติ 4 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะอำเภอลานกระบือ กำแพงเพชร, อำเภอคีรีมาศ, อำเภอกรงไกรลาศ สุโขทัย และอำเภอบางระกำ พิษณุโลก ผลิตน้ำมันดิบ 30,000 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะอำเภอวิเชียรบุรี, อำเภอศรีเทพ เพชรบูรณ์ ผลิตน้ำมันดิบ 2,200 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะอำเภอเมือง, อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี ผลิตน้ำมันดิบ 350 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะอำเภอกำแพงแสน นครปฐม ผลิตน้ำมันดิบ 500 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะอำเภอน้ำพอง ขอนแก่น ผลิตก๊าซธรรมชาติ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะอำเภอหนองแสง อุดรธานี ผลิตก๊าซธรรมชาติ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลว 450 บาร์เรลต่อวัน

►แหล่งขุดเจาะน้ำมันภาคพื้นทะเล


●แหล่งขุดเจาะจัสมินและบานเย็น ผลิตน้ำมันดิบ 12,000 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะบัวหลวง ผลิตน้ำมันดิบ 7,400 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะสงขลา ผลิตน้ำมันดิบ 17,500 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะเอราวัณ บรรพต ปลาทอง สตูล และแหล่งไพลิน ผลิตน้ำมันดิบ 30,000 บาร์เรลต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 34,000 บาร์เรล และก๊าซธรรมชาติประมาณ 1,000 ล้านฟุตต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะทานตะวัน ผลิตน้ำมันดิบ 25,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติ 130 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะบงกช ผลิตก๊าซธรรมชาติ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 10,000 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะนางนวล ผลิตนํ้ามันดิบในอัตรา 2,900 บาร์เรลต่อวัน
●แหล่งขุดเจาะอาทิตย์ ผลิตก๊าซธรรมชาติ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลว 11,500 บาร์เรลต่อวัน

(ข้อมูลจาก www.stopgulfoildisaster.org ในวันที่ 31 มีนาคม 2020)

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “แหล่งน้ำมันดิบในไทย” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าน่าจะเป็นข้อมูลที่ดีกันนะครับ